สำหรับบริษัท
เคล็ดลับ เลี่ยง “ความขัดแย้ง” ในการทำงาน

เคล็ดลับ เลี่ยง “ความขัดแย้ง” ในการทำงาน

16 กันยายน 2565

เคล็ดลับ เลี่ยง “ความขัดแย้ง” ในการทำงาน

16 กันยายน 2565

       ในเรื่องของการทำงานย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดความขัดแย้ง ความไม่เห็นด้วย ความไม่ลงรอยกันในระหว่างการทำงานเกิดขึ้นได้เสมอ คุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าหรือเนื้องานของเพื่อนร่วมงาน หรือไม่เห็นด้วยอีกมากมายที่เกิดขึ้นมาระหว่างการประชุม ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการทำงานที่ต่างกัน และในความแตกต่างของแต่ละคนก็ผสมเป็นการทำงานได้อย่างดีจนไม่เกิดปัญหาแต่บางครั้งความแตกต่างนี่ล่ะที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานระบบทีมได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การทำงานระบบทีมนั้นจะเกิดความขัดแย้งขึ้น เป็นสิ่งที่องค์กรควรคำนึงถึงมากกว่าก็คือการบริหารจัดการความขัดแย้งให้เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเรื่องของการหาคน หาพนักงาน หางานให้ตรงกับงานว่ายากแล้ว การขัดแย้งในการทำงานนั้นยากกว่า วันนี้ Jobmyway มีเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ หลีกเลี่ยง“ความขัดแย้ง” ในการทำงานมาฝากกันค่ะ


● ไม่ควรแสดงความไม่เห็นด้วยตอนที่คุณกำลังอารมณ์ขุ่นมัว
ถึงแม้ว่าคุณจะมีความเป็นมืออาชีพในการทำงาน หรือมีข้อมูลการหางานมาเพื่อพรีเซนต์มากแค่ไหน หากคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือกำลังอารมณ์ไม่ดีก็มีความเสี่ยงสูงมากที่คุณจะหลุดพฤติกรรมดูรุนแรงออกมาขณะที่กำลังโต้แย้งหรือนำเสนอข้อมูลโดยไม่รู้ตัว คุณจะดูเครดิตเสียทันที ดังนั้น อย่าแสดงความไม่เห็นด้วยออกมาถ้าคุณยังหัวร้อน และไม่มั่นใจว่าจะมีเหตุผลในการพูดมากน้อยแค่ไหน ทำใจให้สงบสักนิดก่อนเข้าประชุม


● การไม่เห็นด้วยในการทำงาน ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว
คุณต้องแยกแยะระหว่างเรื่องานกับเรื่องส่วนตัว เพราะบางครั้งเราอาจจะเกิดปัญหาในใจจากการที่ไม่เห็นด้วยจากการทำงานในบางส่วนจนเก็บมาเป็นเรื่องอคคติกับเพื่อนร่วมงานบางคนได้ เพราะการหาคนมาทำงานในตำแหน่งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน อย่าแสดงความไม่เห็นด้วยเพราะความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานไม่ปกติ เตือนตัวเองไว้เสมอว่านี่คือ ‘‘ เรื่องงาน ’’ การจะโต้แย้งอะไรออกไปต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง


● แสดงความคิดเห็นด้วยในบางจุดก่อนโต้แย้ง
หากต้องการแสดงข้อโต้แย้งในส่วนของการทำงาน ตัวเราเองก็ต้องทำการบ้านมาในระดับนึงเหมือนกันก่อนที่จะโต้แย้งข้อมูลเพื่อนร่วมงาน และการแสดงข้อโต้แย้งนั้นคุณต้องพูดในความเป็นไปได้และพูดให้ตรงจุดที่เพื่อนร่วมงานคุณนั้นอธิบาย เพื่อแสดงถึงว่าคุณเองนั้นฟังเขาพรีเซนต์อยู่ คุณได้ทำความเข้าใจกับงานแล้ว แต่ที่โต้แย้งขึ้นมาเพราะว่ารู้สึกติดตรงจุดนั้นจริงๆอธิบายว่าทำไมคุณถึงรู้สึกเช่นนั้น โดยคุณอาจพูดทวนในสิ่งที่เพื่อนร่วมงานของคุณเสนอก่อนที่จะเข้าประเด็นไม่เห็นด้วย


● ขอความเห็นจากเพื่อนร่วมงาน
เมื่อจบการพูดคุยหรือจบการพรีเซนต์ในที่ประชุม ลองถามเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าว่ามีอะไรสอบถามเพิ่มเติมหรือแสดงความเห็นหรือไม่ หากเพื่อนร่วมงานมีแนวโน้มที่ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลที่คุณอธิบาย ตัวคุณเองต้องเปิดใจรับฟังและถามกลับในส่วนที่เค้าไม่เห็นด้วยอย่างไร มีส่วนไหนต้องปรับแก้บ้าง ต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติม เพราะการทำงานของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปไม่ใช่ว่าทุกคนเห็นด้วยหมด คุณต้องถามเพื่อนร่วมงานของคุณด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรกับข้อเสนอของงานของคุณ



● หาจุดตรงกลางที่ทำงานด้วยกัน
ในการทำงานนั้นก็จะเจอความหลากหลายไม่ว่าจะเรื่องงาน รวมไปถึงเรื่องส่วนตัว เช่น ไลฟ์สไตล์ แนวทางการทำงาน หรือแม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็นเพราะแต่ละคนไม่ใช่ว่าจะมารูปแบบเดียวกันทั้งหมด บางคนอาจจะสมัครงานมาเพื่อทดลองตัวเองว่าเหมาะกับการทำงานตรงนี้หรือไม่ คุณควรโฟกัสไปที่เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ทุกคนในทีมต้องการร่วมกันได้หากคุณและเพื่อนร่วมงานทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้เมื่อ มีผลประโยชน์ร่วมกัน แนวโน้มที่เขาจะไม่เห็นด้วยกับคุณนั้นจะน้อยลงเช่นกัน


       การทำงานมักก็จะมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะเป็นการทำงานประเภทใดก็ตาม การทำงานที่เป็นระบบทีมนั้นก็จะเจอคนหลากหลายคนที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นทีมควรตั้งมือในการรับปัญหาและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วย ทำความเข้าใจเรื่องปัญหาข้อโต้แย้ง และเคารพความคิดเห็นของคนอื่นอย่างเท่าเทียมกัน

TAGS : jobmyway , เพื่อนร่วมงาน , เคล็ดลับการทำงาน , ความขัดแย้ง , เคล็ดลับการทำงาน

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ